บทความ

ทักษะการเคลื่อนไหว สำหรับบุคคลออทิสติก

รูปภาพ
                หลังจากที่ห่างหายไปนาน ในวันนี้ ผมจะกลับมาเขียนบทความใหม่ล่าสุดแล้วครับ ชื่อเรื่องว่า "ทักษะการเคลื่อนไหวสำหรับบุคคลออทิสติก" ทนี้ผมจะเล่าหัวข้อย่อย ๆ ไปอ่านด้วยกันนะครับ  1.ทักษะการเคลื่อนไหว คืออะไร           ทักษะการเคลื่อนไหว หรือ ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน (fundamental movement skills) เป็นพื้นฐานของการ เคลื่อนไหวที่มนุษย์ทุกคนพึงมีและเป็นทักษะจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้ส่วนประกอบของ ร่างกายส่วนต่างๆ ร่วมกัน เช่น แขน ขา แขน ลำตัวและศีรษะ รวมเข้ากับทักษะต่างๆ เช่น การวิ่ง การกระโดด การจับ การขว้าง การตี และการทรงตัว (ณัฐพร สุดดี, 2562) อ้างอิงจาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jfam/article/download/5277/2481/ 2.ทักษะการเคลื่อนไหวสำหรับบุคคลออทิสติก            เป็นทักษะในการฝึกของบุคคลออทิสติก เพื่อฝึกเรื่องของการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายเป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กออทิสติกและเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ได้มีการ พัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เช่นเดียวกับการจัดกิจกรรมทางการศึกษาแขนงอื่นๆ หลักในการออกกำลังกายที่ดี  1. การออกกำลังกา

การออกสู่โลกภายนอกสำหรับบุคคลออทิสติก

รูปภาพ
             ห่างหายไปนานสำหรับการเขียนบทความนะครับ จริง ๆ ก็อยากที่จะเขียนเรื่องราวต่าง ๆ แต่ด้วยภารกิจที่เพิ่มขึ้น จึงห่างหายไปเป็นเดือน ๆ แต่ทว่าด้วยความที่ยังไม่หมดไฟในตัวผู้เขียนเอง ประกอบกับการที่ได้ร่วมงานทัศนศึกษาอยู่ 2 สถานที่ นั่นคือวัดพระเชตุพนและท้องฟ้าจำลอง จึงเป็นที่มาที่ได้เขียนเรื่อง " การออกสู่โลกภายนอกสำหรับบุคคลออทิสติก" ในครั้งนี้ การเขียนเรื่องนี้ถือเป็นการถอดบทเรียน เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพมากขึ้นว่า การที่จะนำบุคคลออทิสติกไปสู่โลกภายนอก ต้องทำอย่างไรบ้าง และจะต่อยอดได้อย่างไร เป็นต้น          ขอกล่าวนำนิดนึง ในการออกสู่โลกภายนอกสำหรับบุคคลออทิสติกนั้น ผู้ปกครองจะมีความกล้า ๆ กลัว ๆ อยู่ไม่น้อย บางครอบครัวจะไม่กล้าให้บุคคลออทิสติกไปเจอโลกภายนอก เพราะเกรงจะสร้างปัญหา อาทิ เสียงกรีดร้อง ทำให้คนอื่นรำคาญ ไม่เข้าใจบริบททางสังคม และบางคนอาจจะยังไม่เข้าใจบริบททางสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ การตื่นตัวในเรื่องของบุคคลออทิสติกก็จะจำกัดอยู่ในคนบางกลุ่ม ทำให้บุคคลออทิสติกเข้าไม่ถึงในเรื่องของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม  รวมทั้งผู้ปกครองบางคนขาดความมั่นใจในกา

วิเคราะห์ปัญหาการเข้าสังคมของบุคคลออทิสติก

รูปภาพ
  วิเคราะห์ปัญหาการเข้าสังคมของบุคคลออทิสติก ในปัญหาที่บุคคลออทิสติกต้องเจอนั่นคือ การเข้าสังคม การเข้าสังคมของบุคคลออทิสติกนั้น ผมเชื่อว่าบุคคลออทิสติกหลาย ๆ คนพยายามที่จะเข้าสังคมให้ได้เหมือนคนทั่ว ๆ ไป แต่ปัญหาติดที่ว่า ไม่รู้จะเข้าหาอย่างไรดี ไม่รู้ว่าจะคุยเรื่องอะไร ไม่รู้ว่าจะทำตัวหรือวางตัวอย่างไร และ..ขาดความเข้าใจกัน ทำให้เกิดปัญหา คือความน้อยเนื้อต่ำใจ พฤติกรรมทางอารมณ์ที่เพิ่มมากขึ้น ความห่างเหินในหมู่เพื่อน จนถึงขั้นถูกรังแกและภาวะซึมเศร้า ไม่อยากไปโรงเรียน/ทำงานเลยทีเดียว  เท่าที่ผมวิเคราะห์ได้ สาเหตุที่บุคคลออทิสติกมีปัญหาการเข้าสังคมมีทั้งหมด 6 ข้อ ดังนี้ 1.คนในสังคมขาดความเข้าใจบริบทของบุคคลออทิสติก เรื่องนี้คนในบ้านเราต้องยอมรับจริง ๆ ว่ายังขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาก อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ในบ้านเรามีน้อยและขาดแคลน ทำให้การเข้าถึงองค์ความรู้ด้านบุคคลออทิสติกยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร คนในสังคมจึงไม่ทราบว่าบุคคลออทิสติกคืออะไร มีอาการอะไร และสามารถดูแลพวกเขาได้อย่างไร ทำให้ความห่างเหินและหมางเมินจึงเกิดขึ้น เนื่องจากว่าคนส่วนใหญ่ขาดความรู้ จึงเลือกที่จะเมิน เพรา

ครูจะช่วยเหลือบุคคลออทิสติกได้อย่างไร (ตอนที่ 3)

รูปภาพ
              จากตอนที่ 2 ที่ได้เล่าบทบาทของผู้บริหารแล้วนะครับ ในตอนที่ 3 นี้ จะเล่าว่าครู/อาจารย์ในภาพรวมแล้วจะสามารถช่วยเหลือบุคคลออทิสติกอย่างไร อันนี้ต้องบอกก่อนว่า บทความตอนนี้ทั้งครู ทั้งอาจารย์ในระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัยใช้ได้หมดเลยนะครับ เพราะอย่างที่บางคนทราบว่าสังคมสมัยนี้ต้องเปิดโอกาสเรื่องของการศึกษาตลอดชีวิตอย่างเต็มรูปแบบแล้ว จากบทความเรื่อง "การศึกษาตลอดชีวิต : พัฒนาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ " ของคุณดุษณี คำมี ได้กล่าวไว้ว่า "การศึกษาตลอดชีวิต เป็นกระบวนการศึกษาที่มีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคล ในรูปแบบของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ การศึกษาตามอัธยาศัยที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย เพื่อมุ่งให้บุคคลได้พัฒนาตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อเนื่องไปให้เต็มศักยภาพ โดยบุคคลนั้นจะต้องมีแรงจูงใจที่จะศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และเรียนรู้อยางต่อเนื่อง" ดังนั้นในการพัฒนาบุคคลออทิสติกจะต้องมีความต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้บุคคลออทิสติกมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพอีกด้วย             แน่นอนว่าปัญหาตอนนี้คือบุคคลออทิสติกหลุดจากระบบการศึกษา

ครูจะช่วยเหลือบุคคลออทิสติกได้อย่างไร (ตอนที่ 2)

รูปภาพ
                จากตอนที่ 1 ที่ผมพูดถึงเมื่อคราวที่แล้วนะครับ ผมได้พูดถึงที่มา และปัญหาว่าทำไมผมถึงต้องเขียนเรื่องนี้ (อ่านได้ที่ :  http://ausautis.blogspot.com/2023/02/1.html  ) ทีนี้ ผมจะเล่าถึงการช่วยเหลือบุคคลออทิสติก ในกรณีที่เป็นถึงผู้ใหญ่ ทั้งนักวิชาการ และผู้บริหารของโงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะในแต่ละท้องที่ต่างก็มีบริบท และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ในเรื่องนี้จะเล่าถึงบริบทของผู้บริหารที่มีบทบาทในการพัฒนาบุคคลออทิสติกนะครับ                ผู้บริหารคือคนที่สำคัญที่สุดในการดูแล และบริหารโรงเรียน ผู้บริหารมีหน้าที่ในการบริหารโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน ทั้งการเรียน งานวิชาการ งานกิจการนักเรียน งานบุคคล งานบริหาร งานธุรการ งานการเงิน เป็นต้น ผู้บริหารถามว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลออทิสติกไหม คำตอบคือ เกี่ยวเต็ม ๆ เลยครับ เพราะผู้บริหารคือคนกำหนดนโยบายว่าโรงเรียนจะสามารถรองรับบุคคลออทิสติกเข้าเรียนได้หรือไม่ จะสรรหาครู งบ และสิ่งแวดล้อมให้กับบุคคลออทิสติกได้อย่างไร จะสรรหาการเรียนและกิจกรรมดี ๆ แก่บุคคลออทิสติกได้อย่างไร และจะกำหนดทิศทางในการเรียนรวมได้อย่างไร มิใช่แค่น

ครูจะช่วยเหลือบุคคลออทิสติกได้อย่างไร (ตอนที่ 1)

รูปภาพ
                ถ้าพูดถึงอาชีพ "ครู" เป็นอาชีพหนึ่ง ที่มีหน้าที่ในการสอนหนังสือแก่นักเรียน "ครู" ไม่ใช่แค่สอนหนังสือนักเรียนเท่านั้น ครูยังต้องมีหน้างที่ในการดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนในทุกมิติ ครูก็คือพ่อแม่คนที่สอง ที่สร้างคนให้เป็นคน ทุกคนในชีวิตนั้น กว่าจะมีวันนี้ได้ก็ต้องผ่านมือครูแทบทั้งสิ้น การที่จะเป็นครูนั้น ไม่ใช่แค่สอนหนังสือแล้วก็จบไป แต่ยังต้องดูแล นิเทส ติดตามนักเรียนทุก ๆ คน อีกทั้งต้องร่วมมือกับบุคคลภายนอกเพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในการสอนนักเรียนให้ดีมากขึ้น ผมมองว่า อนาคตของเด็ก ๆ แทบทุกคน ถ้าได้ครูดีเด็กก็จะอยากเรียน และเด็กก็จะจดจำไปตลอด อีกทั้งการที่เด็กจะอยู่โรงเรียนได้มีความสุขหรือไม่นั้น "ครู" คือคนสำคัญในโรงเรียน แต่เท่าที่ทราบนะครับ ครูนอกจากจะต้องทำการสอนแล้ว ก็จะมีหน้าที่อื่น ๆ เช่น สอนพิเศษ งานเอกสาร สื่อ ช่วยงานธุรการ งานครัว งานราชการ รายงานต่าง ๆ ทำให้ครูไม่ค่อยมีโอกาสที่จะใกล้ชิดกับเด็กเท่าที่ควร อีกทั้งปัญหาการถูกรังแก เรียนไม่ทัน ไม่มีเพื่อน และต้องแข่งขันกันเรียน ทำให้เด็ก ๆ ไม่มีความสุขในการเรียน ทั้งเสี่ยงที่จะ

เด็ก นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคคลออทิสติก

รูปภาพ
                บทความนี้จะเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคคลออทิสติก ว่าเขาเป็นใคร มาจากไหน และมีบทบาทอะไรบ้างในการดูแลและพัฒนาศักยภาพสำหรับบุคคลออทิสติก และจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร หากในกรณีที่ไม่มีคนที่จะดูแลแล้ว บทความนี้จะนำพาทุกคนไปเล่าถึงความเกี่ยวข้องของบุคคลดังกล่าว ว่ามีส่วนร่วมกับบุคคลออทิสติกอย่างไร เพื่อให้พวกเขาสามารถพัฒนาศักยภาพ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข บทความนี้ผมจะเล่าแบบสบาย ๆ แต่รับรองเลยว่าจะเข้าใจอะไรมากขึ้น และทำให้เรื่องที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้อง แต่จะเกี่ยวข้องอย่างไร ก็ลองไปอ่านกันนะครับ                เด็ก ในบทความนี้จะพูดถึงเพื่อน ๆ ในวัยเรียน เด็กจะมีหน้าที่ในการเรียนหนังสือ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ช่วยดูแลครอบครัว เด็ก ๆ ถ้ามีเวลาก็จะออกไปเจอเพื่อน เจอพี่ เจอน้อง เด็ก ๆ แต่ละคนล้วนจะมีความชอบไม่เหมือนกัน สนใจต่างกัน และบริบททางครอบครัวก็จะแตกต่างกันอีกด้วย บางคนครอบครัวก็ดี บางคนครอบครัวก็เคร่ง บางคนก็ต้องเจอเรื่องราวทั้งดีและไม่ดีกันทั้งนั้น แต่อยู่ที่ความแตกต่างเมื่อพบเจอ เด็กในวัยเรียนจะมีความสนุกสนาน คึกคะนอง และอาจจะหุนหันพล