เด็ก นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคคลออทิสติก
บทความนี้จะเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคคลออทิสติก ว่าเขาเป็นใคร มาจากไหน และมีบทบาทอะไรบ้างในการดูแลและพัฒนาศักยภาพสำหรับบุคคลออทิสติก และจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร หากในกรณีที่ไม่มีคนที่จะดูแลแล้ว บทความนี้จะนำพาทุกคนไปเล่าถึงความเกี่ยวข้องของบุคคลดังกล่าว ว่ามีส่วนร่วมกับบุคคลออทิสติกอย่างไร เพื่อให้พวกเขาสามารถพัฒนาศักยภาพ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข บทความนี้ผมจะเล่าแบบสบาย ๆ แต่รับรองเลยว่าจะเข้าใจอะไรมากขึ้น และทำให้เรื่องที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้อง แต่จะเกี่ยวข้องอย่างไร ก็ลองไปอ่านกันนะครับ
เด็ก ในบทความนี้จะพูดถึงเพื่อน ๆ ในวัยเรียน เด็กจะมีหน้าที่ในการเรียนหนังสือ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ช่วยดูแลครอบครัว เด็ก ๆ ถ้ามีเวลาก็จะออกไปเจอเพื่อน เจอพี่ เจอน้อง เด็ก ๆ แต่ละคนล้วนจะมีความชอบไม่เหมือนกัน สนใจต่างกัน และบริบททางครอบครัวก็จะแตกต่างกันอีกด้วย บางคนครอบครัวก็ดี บางคนครอบครัวก็เคร่ง บางคนก็ต้องเจอเรื่องราวทั้งดีและไม่ดีกันทั้งนั้น แต่อยู่ที่ความแตกต่างเมื่อพบเจอ เด็กในวัยเรียนจะมีความสนุกสนาน คึกคะนอง และอาจจะหุนหันพลันแล่นนั่นเอง
นักศึกษา ในบทความนี้จะกล่าวถึง นักเรียนที่อยู่ในระดับมหาวิทยาลัย การที่จะเป็นนักศึกษานั้นก็มีที่มาจากหลาย ๆ แหล่ง ทั้งโควตา สอบตรง และสอบแข่งขัน เป็นต้น คนที่อยู่วัยนักศึกษาจะต้องเรียนหนังสือ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประกอบวิชาชีพ ถ้าจะพูดถึงสาขาที่เกี่ยวข้องกับบุคคลออทิสติก ส่วนใหญ่จะเรียนพวกครู นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ จิตแพทย์ เป็นต้น แต่ถ้าไม่ใช่สาขาดังกล่าวต้องปรับความคิดอีกมากเลยทีเดียวครับ
ครู - อาจารย์ จะเป็นผู้ที่สอนหนังสือแก่นักเรียน - นักศึกษาทั้งหลาย ในอาชีพดังกล่าวนอกจากจะสอนหนังสือแล้วยังต้องเป็นผู้ดูแลเด็ก ๆ ในเรื่องของการเรียน การใช้ชีวิต และเรื่องต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามากับตัวเด็กเอง ครู - อาจารย์ เป็นคนสำคัญในการพัฒนาคนในสังคม ถ้าได้ครู - อาจารย์ที่ดีแล้ว เด็กก็จะจดจำในทางที่ดี แต่ถ้าครู - อาจารย์คนไหนที่ไม่ดีกับเด็ก เด็กก็จะจำในทางที่ไม่ดี ดังนั้น เด็กจะได้ดีก็ขึ้นอยู่กับครู - อาจารย์นั่นเองครับ
บุคคลออทิสติก หมายถึง บุคคล ๆ หนึ่ง ที่มีความผิดปกติในระบบสมอง และระบบประสาท บุคคลออทิสติกจะมีปัญหาในเรื่องของการพูด การแสดงออก การเข้าสังคม พฤติกรรม การเรียนรู้ และไวต่อสิ่งต่าง ๆ มากกว่าปกติ เป็นต้น บุคคลออทิสติกจะชอบอยู่ในโลกของตนเอง ชอบพูดในสิ่งที่ตนเองสนใจ ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ (ผู้เขียนก็เช่นกันครับ) ในการพัฒนาบุคคลออทิสติกจะต้องพึ่งหลาย ๆ ฝ่าย ทั้งคนในสังคม ครู และผึ่ปกครองต้องร่วมมือกันพัฒนาพวกเขา เพื่อให้พวกเขาอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
แล้วเด็ก นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคคลออทิสติก มีจุดเชื่อมโยงอะไรบ้าง และสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร
ในเรื่องนี้นะครับ จะเป็นการเล่าความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง เด็ก - นักศึกษา ในบทความนี้ ก็หมายถึงเพื่อน ๆ ของบุคคลออทิสติก แล้วถามว่าทำไมต้องให้บุคคลออทิสติกมีเพื่อน ๆ รุ่นราวคราวเดียวกันเหมือนคนทั่วไปบ้างล่ะ คำตอบคือ เพื่อฝึกให้บุคคลออทิสติกได้รู้จักการพูด การแสดงออก ฝึกในเรื่องของทักษะสังคม ได้รู้จักเขา รู้จักเรา ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (คำว่า ดูแล ของผมในที่นี่ไม่ได้หมายถึงแบบว่าดูแลอย่างใกล้ชิดขนาดนั้นนะครับ การดูแลในที่นี้หมายถึงดูแลในเรื่องของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ สิ่งที่สบายใจ / ไม่สบายใจ สิ่งที่อยากจะเล่าหรือปรึกษา การอยู่ร่วมกันนั่นเองครับ) และยังทำให้คนในครอบครัวรู้สึกสบายใจมากขึ้น เนื่องจากในความจริงแล้ว ถ้าหากพ่อแม่ไม่ได้อยู่กับพวกเขาแล้ว พวกเขาก็ไม่ได้โดดเดี่ยว เพราอย่างน้อง เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ก็จะช่วยกันดูแลบุคคลออทิสติกส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ต้องดูแลตนเองนะครับ การที่บุคคลออทิสติกต้องเข้ากับเพื่อนเรื่องนี้สำคัญนะครับ ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาเรื่องนี้ได้แล้วนะครับ
ถ้าพูดถึงในเด็กแต่ละช่วงวัย ว่าจะมีความสัมพันธ์กับบุคคลออทิสติกอย่างไรได้บ้าง แบบที่นุ่มนวลที่สุด ถ้าเป็นตอนประถมนะครับ เด็กประถมก็จะซุกซน สนุกสนาน ครูก็ต้องพาเด็กออทิสติกเล่นด้วย ก่อนหน้านั้นครูต้องเข้าใจว่าเด็กชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ถ้าทราบว่าเด็กออทิสติกชอบตรงกับเพื่อนคนไหน ก็ไปเล่น ไปคุย แต่ครูต้องมีส่วนร่วมเสมอ ตอนประถมถ้าจะฝึกเด็กออทิสติกก็พูดแบบง่าย ๆ อาทิ ทักทายง่าย ๆ ถามเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าขอคุย/ขอเล่น..หน่อยได้ไหมครับ จากนั้นก็พาเด็กไปเล่นกับเพื่อน อีกทั้งการแสดงออกก็ควรรับฟัง และบอกกับเพื่อนคนอื่นว่า ควรเคารพกันและกันนะครับ/นะคะ ไม่ควรหัวเราะแบบเยาะเย้ยเพื่อนนะครับ และควรสอนการช่วยเหลือตนเองแบบง่าย ๆ อาทิ การซื้อของ การทานอาหาร การเขียน การอ่าน เป็นต้น กิจกรรมการเข้าสังคมของเด็กประถมควรสอนเป็นภาพ และสอนถึงการเล่นกับเพื่อน ที่สำคัญต้องให้ผู้ปกครองทั้งเพื่อน ๆ และบุคคลออทิสติกได้ทราบในเรื่องนี้ด้วยนะครับ ควรจะรายงานทุก ๆ 1 สัปดาห์ให้ผู้ปกครองได้ทราบและเข้าใจ และผู้ปกครองควรจะคุยกันเองอย่างใกล้ชิต ตั้งแต่การเข้ากับเพื่อน การเล่น ถึงการใช้ชีวิตในอนาคต เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และให้บุคคลออทิสติกสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ถ้าถึงวัยมัธยม ผมเชื่อว่าทุกคนอยากรู้ อยากลอง อยากเห็น เพื่อนในวัยมัธยมถ้าผูกพันกับใครได้ ก็จะผูกพันกันไปตลอดชีวิต หลาย ๆ คนจะพูดว่า เพื่อนในวัยมัธยมดีที่สุดแล้ว ครูที่ดูแลเด็กออทิสติกในวัยมัธยมก็จะเหนื่อยหน่อยนะครับ ควรจะสอนบุคคลออทิสติกเรื่องของการพูดคุยกับเพื่อน การแสดงออก การวางตัว กริยามารยาทที่ควรทราบ กฎสังคม และการวางตัวในที่สาธารณะ เมื่อเด็กออทิสติกพอที่จะทราบแล้ว ก็จะให้เข้ากับเพื่อน โดยที่ครูต้องมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง ตอนแรก ๆ จะต้องฝึกให้สามารถทักทาย และนำให้ได้ก่อน จากนั้นก็จะให้ฝึกพูดคุย การเข้ากับเพื่อน และใช้ชีวิตกับเพื่อน ถ้าหากบุคคลออทิสติกมีปัญหาหรือติดขัดอย่างไร ก็ควรอธิบายให้เข้าใจ ไม่ใช่ไปดุด่านะครับ เพราะบุคคลออทิสติกจะเข้าใจได้ดดยการใช้เหตุผล ถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอบุคคลออทิสติกก็จะไม่สามารถไปต่อได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้น ควรจะมีกิจกรรมให้บุคคลออทิสติกได้เข้าสังคมทั้งภายใน และภายนอกสถานที่ และลองฝึกการใช้ชีวิตอิสระเบื้องต้น อาทิ การซื้ออาหาร การซื้อของ การพูดคุย การเรียนรู้จากสิ่งที่สนใจ เป็นตัน ที่สำคัญต้องให้ผู้ปกครองทั้งเพื่อน ๆ และบุคคลออทิสติกได้ทราบในเรื่องนี้ด้วยนะครับ ควรจะรายงานทุก ๆ 1 สัปดาห์ให้ผู้ปกครองได้ทราบและเข้าใจ และผู้ปกครองควรจะคุยกันเองอย่างใกล้ชิต ตั้งแต่การเข้ากับเพื่อน การเรียนรู้ การเข้าสังคม ถึงการใช้ชีวิตในอนาคต เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และให้บุคคลออทิสติกสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
สำหรับในวัยมหาวิทยาลัย (ถ้ามีโอกาสได้ศึกษานะครับ) ในความคิดเห็นของผมถือว่ามีวุฒิภาวะและความเป็นผู้ใหญ่ที่ดีพอ ในมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งก็จะมีศูนย์บริการคนพิการ (DSS) ของมหาวิทยาลัยนั้น และในมหาวิทยาลัยก็จะมีพี่เลี้ยงและผู้ดูแลคนพิการอยู่ในมหาวิทยาลัยด้วย การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยก็จะเจอคนพิการหลาย ๆ แบบ ทั้งตาบอด หูหนวก ทางกาย นั่งวีลแชร์ เป็นต้น ในการเรียนมหาวิทยาลัยผมก็จะแบ่งตามสาขาดังนี้
1) ถ้าเป็นกรณีที่เรียนในคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา สังคมสงเคราะห์ หรือคณะแพทยศาสตร์ (แบบ The Good Doctor) หรือสาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลออทิสติกนะครับ ผมว่าในการเรียนคณะนั้น ๆ จะมีในเรื่องของจิตวิทยา การเรียนรวม บุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เป็นต้น ในเรื่องของการดูแลเพื่อนที่เป็นบุคคลออทิสติกจะต้องใช้จิตวิทยา เริ่มจากแนะนำตัว ทำวความรู้จัก จากนั้นควรจะค่อย ๆ พูดอย่างมีเหตุผล ควรจะอธิบายให้เข้าใจ ควรจะเปิดโอกาสให้พูดคุยถ้าไม่สบายใจ หรืออยากจะเล่าอะไร เพราะถ้าปิดโอกาสการที่ได้ออกมาพูดทำให้เกิดอาการฟุ้งซ่าน และไม่มีความสุขในการเรียน การใชชีวิตนะครับ นอกจากนี้ ควรจะหาเวลามีส่วนร่วม และปฏิบัติกับบุคคลออทิสติกในฐานะเพื่อนคนหนึ่ง เพราะบุคคลออทิสติกอยากจะเรียนรู้โลกกว้าง อยากจะทำอะไรได้เหมือนคนทั่วไป และอยากมีเพื่อน ๆ เพื่อที่จะทำให้บุคคลออทิสติกได้อุ่นใจนะครับ ถ้ามีความอุ่นใจ ครอบครัวก็จะหายเป็นห่วงนะครับ
2) ถ้าเป็นกรณีที่ไม่ได้เรียนในสาขาตามข้อที่ 1) นะครับ ผมแนะนำว่า ให้เพื่อนที่เป็นออทิสติกแนะนำตัว จากนั้นเพื่อน ๆ ต้องเข้าใจเพื่อนที่เป็นออทิสติกแบบคร่าว ๆ ก่อน แล้วให้ไปปรึกษากับกลุ่มเพื่อนในข้อที่ 1) และเข้าหาเพื่อนในข้อที่ 1) ให้มากขึ้น เพราะคนที่เรียนในสาขาตามข้อที่ 1) จะมีความเข้าใจบุคคลออทิสติก จิตวิทยา และการเรียนรวมมากกว่า ถึงแม้จะเข้าใจได้ไม่มากนักก็ตาม จากนั้นก็ร่วมมือกับเพื่อนที่เรียนในข้อที่ 1) แล้วหาวิธีในการอยู่ร่วมกัน การปฏิบัติกับบุคคลออทิสติกให้ทำใกล้เคียงกับเพื่อนตามข้อที่ 1) คือการปฏิบัติกับบุคคลออทิสติกแบบเพื่อน ๆ มีอะไรก็พูดคุยกับ เปิดโอกาสพูดคุยเวลาที่ไม่สบายใจ หรืออยากจะเล่า และหาเวลามีส่วนร่วม และปฏิบัติกับบุคคลออทิสติกในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่งครับ
ทั้งเพื่อนกลุ่มข้อที่ 1) และ 2) ที่สำคัญเลยนะครับคืออย่าปิดกั้น อย่าอคติกับบคุคคลออทิสติก และให้โอกาสอย่างสม่ำเสมอ แน่นอนว่าพวกเขาอาจจะทำผิดพลาด แต่ขอให้พูดคุยกัน อย่าหมางเมิน แต่ควรให้โอกาส เพื่อให้บุคคลออทิสติกทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และสามารถศึกษาจนจบการศึกษาได้ครับ ถ้ามีโอกาสก็หาเวลาคุยนะครับ
บทบาทอาจารย์นะครับ ในระดับมหาวิทยาลัยนั้น อาจารย์ก็จะไม่ได้ใกล้ชิดเหมือนตอนประถมและมัธยม แต่ถ้ามีอะไรก็ปรึกษาอาจารย์ที่ไว้ใจได้ บทบาทอาจารย์จะไม่ได้มีแค่การเรียนการสอนนะครับ แต่ยังมีในเรื่องของการดูแลบุคคลออทิสติกเรื่องของการเรียน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น อาจารย์ควรจะใกล้ชิดกับบุคคลออทิสติกให้มากที่สุด มีอะไรก็พูดด้วยเหตุผล อย่าใช้อารมณ์นะครับ และถ้าต้องการจะศึกษาต่อ หรือทำงาน ควรหาช่องทางให้บุคคลออทิสติกได้ไปถึงฝั่งฝันนะครับ เชื่อว่าอาจารย์มีศักยภาพในการดูแลบุคคลออทิสติก เพียงแต่ว่าต้องใจเย็น ๆ ค่อย ๆ พูด และอย่าปิดกั้นบุคคลออทิสติกนะครับ
สำคัญที่สุดจะต้องมีความต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ถ้าหากวันไหนที่ไม่ว่างจริง ๆ ก็ควรจะหาเวลาคุยกันให้มากที่สุด ในการที่บุคคลออทิสติกจะอยู่ในสังคมได้ ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอสำคัญนะครับ เพราะถ้ามีตรงนี้แล้ว การพัฒนาศักยภาพก็สามารถทำได้ถูกจุด เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น ได้ติดตามพัฒนาการ และสามารถพัฒนาศักยภาพได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดนะครับ การจะดูแลบุคคลออทิสติกนั้น สำคัญคือไม่ได้ขึ้นอยู่กับเด็ก นักศึกษา ครู อาจารย์เพียงแค่นี้นะครับ คนที่สำคัญที่สุดคือครอบครัวจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และครอบครัวจะต้องคุยกับเด็ก นักศึกษา ครู อาจารย์ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการ ความเป็นอยู่ การเข้าสังคม ศักยภาพ และการเรียนของบุคคลออทิสติกอย่างต่อเนื่องนะครับ
สรุปแล้ว การที่บุคคลออทิสติกจะพัฒนาศักยภาพนั้น ครอบครัวสำคัญที่สุด แต่การที่จะให้บุคคลออทิสติกไปสู่สังคมนั้น ไม่ใช่บทบาทแค่ครอบครัวอย่างเดียว แต่เป็นบทบาทของ เด็ก นักศึกษา ครู อาจารย์ร่วมด้วยนะครับ เพียงแต่ผู้ปกครองต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิด เพื่อให้พวกเขาสามารถอยู่ในสังคม และพัฒนาศักยภาพได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดนะครับ เป็นกำลังใจให้บุคคลออทิสติก ครอบครัว และบุคคลที่เกี่ยวข้องนะครับ วันนี้ขอลาไปก่อนนะครับ แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ
อัษฎากรณ์ ขันตี
18 มกราคม 2566
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น