รีวิวการใช้งาน เว็บไซต์คัดกรองบุคคลออทิสติก
รีวิวการใช้งาน
เว็บไซต์การคัดกรองบุคคออทิสติก
อัษฎากรณ์ ขันตี
จากประสบการณ์ในวันนี้ที่ผู้เขียนได้ลองใช้งานเว็บไซต์
https://sts.autisticthai.com
ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) มูลนิธิออทิสติกไทย
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมสุขภาพจิต ร่วมกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น
ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น เพื่อสำรวจและคัดกรองสำหรับผู้มีความกังวลสงสัยว่าจะมีความบกพร่องทาง
สติปัญญา เรียนรู้ช้า สมาธิสั้น แอลดี และออทิซึม
เพื่อให้สามารถเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยและการรักษาจากแพทย์ได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้เว็บไซต์คัดกรองนั้นยังสามารถส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้บุคคลออทิสติก บุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
และผู้ปกครองได้รับสิทธิและโอกาส ตามที่ควรจะได้รับ เช่น การศึกษาทั้งในและนอกระบบ
สวัสดีการ การประกอบอาชีพ การเข้าถึงทางการแพทย์ การมีส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคม
รวมทั้งการดำรงชีวิตอิสระของบุคคลออทิสติกและบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษอีกด้วย
ในประเทศไทยมีบุคคลออทิสติกอยู่ 2 - 3
แสนคน (อาจจะมีมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับการสำรวจของแต่ละหน่วยงาน) ทว่า
บุคคลออทิสติกที่มีบัตรคนพิการมีเพียงแค่ 23,622 คน
ทำให้บุคคลออทิสติกหลาย ๆ คนไม่ได้รับสิทธิ โอกาส และการพัฒนาด้านต่าง
ของบุคคลออทิสติกเท่าที่ควร ในกลุ่มคนพิการที่มีบัตร
กลุ่มที่มีบัตรมากที่สุดคือกลุ่มผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ที่มีถึง 1,199,021 ขณะที่บุคคลออทิสติกมีบัตรคนพิการเพียง 23,622 คน
ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มคนพิการกลุ่มอื่น ๆ
สาเหตุที่สำคัญคือ
1.พ่อแม่ปฏิเสธการยอมรับความพิการของลูก เพราะเกรงจะเสียเครดิต เสียหน้า
2.พ่อแม่อาจจะยังไม่ทราบสิทธิคนพิการที่ควรจะได้รับ (อ้างอิงข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ)
รูปที่ 1 ข้อมูลคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนำพิการ
อ้างอิงรูปภาพจาก
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
จากปัญหาดังกล่าว มูลนิธิออทิสติกไทย ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงพัฒนาเว็บไซต์ https://sts.autisticthai.com เพื่อใช้ในการสำรวจและคัดกรองเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีความสงสัยว่าจะเป็นบุคคลออทิสติกและบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เมื่อทราบว่าลูกเป็นบุคคลออทิสติกและบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษแล้ว ข้อมูลเหล่านี้ก็จะส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคคลออทิสติก บุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และผู้ปกครองได้รับสิทธิและโอกาสตามที่ควรจะได้รับ บุคคลออทิสติกถ้าคัดกรองแล้วสามารถทราบผลโดยเร็ว การพัฒนาด้านต่าง ๆ ก็จะทำได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้นนั่นเอง
รีวิวการใช้งานเว็บไซต์
ให้ผู้ใช้งานเข้าเว็บไซต์ไปที่ https://sts.autisticthai.com/
ซึ่งจะเจอหน้าจอการเข้าสู่ระบบ
หากกรณีผู้ใช้เป็นแอดมิน ต้องไปขอรหัสผ่านที่ผู้ดูแลระบบ
ซึ่งข้อมูลเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ผู้เขียนจึงขออนุญาตที่จะไม่แสดงข้อมูลดังกล่าว ตาม
พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เมื่อเข้าเว็บแล้ว
จะเจอหน้าจอเข้าสู่ระบบ ซึ่งต้องกรอกเบอร์ของแอดมินในจังหวัดนั้น ๆ
จากนั้นก็ใช้รหัส OTP ของแอดมิน
เพื่อยืนยันในการเข้าสู่ระบบ
รูปที่
2 หน้าจอเข้าสู่ระบบ
ต่อมาก็จะเข้าสู่หน้าจอหลัก
โดยมีเมนูสำคัญ ๆ ดังนี้
1.ส่วนของเจ้าหน้าที่
ซึ่งในจังหวัดสามารถมีเจ้าหน้าที่เท่าไร
ขึ้นอยู่กับแอดมินและผู้พัฒนาระบบได้ทำการสรรหาของแต่ละจังหวัด
มีหน้าที่ในการคีย์ข้อมูลของบุคคลออทิสติกที่อยู่ในแต่ละจังหวัดที่เจ้าหน้าที่ได้อาศัยในจังหวัดนั้น
ๆ เจ้าหน้าที่จะเป็นตัวแทนของพม.จังหวัด และตัวแทนของชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกในแต่ละจังหวัด
รูปที่ 3 หน้าเว็บไซต์รายชื่อเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในจังหวัดนั้น
ๆ
2.ส่วนของสมาชิก เจ้าหน้าที่จะคีย์ข้อมูลของสมาชิกซึงเป็นบุคคลออทิสติก
เพื่อทำการคัดกรองบุคคลออทิสติก ให้ได้รับสิทธิและโอกาสตามที่ควรจะได้รับ
รูปที่
4 หน้าเว็บไซต์ของสมาชิกที่อยู่ในจังหวัดนั้น ๆ
ซึ่งการที่จะเพิ่มสมาชิกนั้น
ให้เข้าไปที่คลิกปุ่มบนขวา “+ เพิ่มสมาชิก” ตามรูปที่ 5
รูปที่
5 ปุ่ม “+ เพิมสมาชิก”
ขั้นตอนการเพิ่มข้อมูลสมาชิกทั้น
มีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
2.1) ให้ทำการกรอกข้อมูลบุคคลออทิสติกที่ต้องการรับการสำรวจ
และผู้ปกครอง/ผู้ดูแลคนพิการ
รูปที่
6 หน้าจอในการกรอกข้อมูลบุคคลรับการสำรวจ และผู้ปกครอง/ผู้ดูแลคนพิการ
2.2) กรอกข้อมูลที่อยู่ที่อาศัยในปัจจุบัน
และปักหมุดให้เรียบร้อย
รูปที่
7 หน้าจอในการกรอกข้อมูลที่อยู่และพิกัด
2.3) กรอกข้อมูลความพิการ
และการมีบัตรประจำตัวคนพิการ
รูปที่
8 หน้าจอในการกรอกข้อมูลความพิการ และการมีบัตรประจำตัวคนพิการ
2.4) กรอกข้อมูลการศึกษา และการใช้แอพพลิเคชั่นของบุคคลออทิสติก
รูปที่ 9 หน้าจอในการกรอกข้อมูลการศึกษา
และการใช้แอพพลิเคชั่นของบุคคลออทิสติก
2.5) กรอกข้อมูลความสามารถพิเศษ
และทักษะการดำรงชีวิตของผู้ที่จะคัดกรอง
รูปที่ 10 หน้าจอในการกรอกข้อมูลความสามารถพิเศษ
และทักษะการดำรงชีวิต
รูปที่ 11 หน้าจอในการกรอกข้อมูลการเข้าถึงเทคโนโลยี ทักษะด้านเทคโนโลยีที่ต้องการสนับสนุน
และทักษะอาชีพที่ต้องได้รับการสนับสนุน
2.7) กรอกข้อมูลการประกอบอาชีพ
และเงินทุนในการประกอบอาชีพ
รูปที่ 12 หน้าจอในการกรอกข้อมูลอาชีพ
และเงินทุนในการประกอบอาชีพ
2.8)
กรอกข้อมูลความสามารถพิเศษ ของผู้ที่จะคัดกรอง
รูปที่ 13 หน้าจอในการกรอกข้อมูลความสามารถพิเศษ
ของผู้ที่จะคัดกรอง
รูปที่
14 หน้าจอในการกรอกข้อมูลที่อยู่อาศัย
2.10) กรอกข้อมูลสวัสดิการที่ได้รับของผู้คัดกรอง
รูปที่ 15 หน้าจอในการกรอกข้อมูลสวัสดิการที่ได้รับของผู้คัดกรอง
2.11) กรอกข้อมูลความต้องการ หรือการสนับสนุนใด ๆ ที่ผู้คัดกรองมีความประสงค์ต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ
รูปที่ 16 หน้าจอในการกรอกข้อมูลความต้องการ
หรือการสนับสนุนใด ๆ
ที่ผู้คัดกรองมีความประสงค์ต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ
2.12) กรอกข้อมูลความเดือดร้อน
ที่ผู้คัดกรองมีความประสงค์ต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ
รูปที่
17 หน้าจอในการกรอกข้อมูลความเดือดร้อน
ที่ผู้คัดกรองมีความประสงค์ต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ
2.13) เมื่อกรอกข้อมูลตามหัวข้อที่
2.1) – 2.12) เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการกดปุ่ม “บันทึก” ซึ่งรูปจะอยู่ที่มุมบนขวา ตามรูปที่
18 – 19
รูปที่ 19 ปุ่มบันทึกข้อมูล
จากหน้าจอรูปที่ 17
2.14) เมื่อบันทึกแล้ว
ระบบจะทำการบันทึกข้อมูลไปที่หน้าสมาชิก ตามรูปที่ 20
รูปที่ 20 หน้าจอในการแสดงผลสมาชิก
3.ส่วนของแผนที่
หน้านี้จะเป็นข้อมูลบ่งบอกว่า
ในจังหวัดนั้น ๆ ที่ทางสมาคมและชมรมของแต่ละจังหวัดได้คีย์ข้อมูลเข้าไป จะเห็นว่าบางชมรมหรือสมาคมมีสมาชิกที่มีที่อยู่อาศัยในจังหวัดที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดชมรม
ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ทางชมรมหรือสมาคมได้ทำการคีย์ข้อมูลไปนั่นเอง
จากนั้นจึงแสดงผลโดยการปักหมุดว่า
บริเวณไหนที่มีบุคคลออทิสติกที่ได้รับการคัดกรองแล้ว แล้วชมรมหรือสมาคมในจังหวัดนั้น
ๆ มีสมาชิกที่อาศัยอยู่ในแถบนั้นกี่คน และด้านล่างแผนที่จะบอกว่า ในจังหวัดนั้น ๆ
มีสมาชิกที่อยู่ในระบบแล้วกี่คน ในรูปที่ 21
รูปที่ 21
หน้าจอแสดงแผนที่ที่สมาชิกอยู่อาศัย และข้อมูลสมาชิกในแต่ละจังหวัด
ทีนี้จะสังเกตเห็นที่ปักหมุดสีฟ้า
ว่ามีคนไหนอยู่ตรงนั้นบ้าง แล้วเมื่อคลิกแล้ว สามารถแสดงข้อมูลเบื้องต้นได้
ตามรูปที่ 22
รูปที่
22 หน้าจอแสดงข้อมูลผู้พิการ เมื่อคลิกจากที่ปักหมุดสีฟ้า
สรุป
เว็บไซต์นี้โดยภาพรวมถือว่าทำได้ดีทีเดียว
เพราะมีการเก็บข้อมูลที่ละเอียด ตั้งเรื่องของการเรียน ,
การมีงานทำ , สวัสดิการ , การเข้าถึงทางการแพทย์ และการเข้าถึงทางสังคม
เว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์สำคัญต่อบุคคลออทิสติก ครอบครัว
หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้บูรณาการร่วมกัน
เพื่อให้บุคคลออทิสติกและครอบครัวได้รับสิทธิและโอกาส มีที่ยืนในสังคม นอกจากนี้
เมื่อฐานข้อมูลส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็จะเกิดการบูรณาการกัน
และสามารถเป็นส่วนหนึ่งของ One Stop Service ทำให้การเข้าถึงบริการต่าง
ๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
บทความนี้เป็นเรื่องสำคัญที่บุคคลที่เกี่ยวข้องควรจะทราบและทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
เพื่อให้บุคคลออทิสติกสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมอย่างมีความสุข แล้วพบกันใหม่
สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ
อัษฎากรณ์ ขันตี
6 กรกฎาคม 2567
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น