ว่าด้วยเรื่องของ Buddy (บัดดี้)


 

            คำว่า Buddy (บัดดี้) บางคนก็พอจะทราบว่า บัดดี้คืออะไร แต่สำหรับคนที่ยังไม่ทราบ คำว่าบัดดี้หมายถึง เพื่อน 2 คนที่สนิทกัน ที่ต้องทำสิ่งต่าง ๆ ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การเรียน การใช้ชีวิต การทำงาน การเดินทาง การผจญภัย เป็นต้น บัดดี้จะต้องคอยดูแลช่วยเหลือเพื่อน หากเขาเกิดอันตราย เกิดปัญหา ความทุกข์ ความเครียด และสถานการณ์อื่น ๆ อีกมากมาย บัดดี้จะต้องแบ่งปัน ทั้งความรุ้ ทักษะ ประสบการณ์ ปัญหาและอุปสรรค ที่จะพาเข้าออกจากปัญหา และทำงานให้สำเร็จจงได้  ในวิกิพิเดีย ได้มีการอธิบายถึงคำว่า Buddy System (ระบบบัดดี้) ขึ้น โดยมีความหมายว่า " เป็นกระบวนการที่บุคคลสองคนคือ "เพื่อน" ทำงานร่วมกันเป็นหน่วยเดียวเพื่อให้พวกเขาสามารถตรวจสอบและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามพจนานุกรมเมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ การใช้วลี “ระบบบัดดี” ที่รู้จักกันครั้งแรกนั้นย้อนกลับไปถึง ค.ศ. 1942 เว็บสเตอร์ยังคงนิยามระบบบัดดี้ว่าเป็น “ข้อตกลงที่มีการจับคู่บุคคลสองคน (เพื่อความปลอดภัยร่วมกันในสถานการณ์อันตราย)” ระบบบัดดีนั้นโดยทั่วไปจะทำงานร่วมกันเป็นคู่ในกลุ่มใหญ่หรือตามลำพัง บุคคลทั้งสองต้องทำงาน งานอาจทำให้มั่นใจได้ว่างานจะเสร็จอย่างปลอดภัย หรือโอนถ่ายทักษะ/การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง "

            .ในหนังเรื่อง Some Like It Hot (1959) มีนักดนตรีหนุ่ม 2 คน ที่พบเห็นการฆาตกรรมที่ชิคาโก แต่ถูกจับได้ พวกมาเฟียเลยต้องตามล่านักดนตรีหนุ่ม หนุ่มสองคนจึงต้องปลอมตัวเป็นผู้หญิงเพื่อที่จะออกมาเล่นดนตรี อีกทั้งต้องหลบหนีจากการถูกตามล่าของมาเฟียครับ ในหนังเรื่องนี้ได้เห็นถึงการใช้ "บัดดี้"อย่างชัดเจนในเรื่องของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการวางแผนเพื่อหลบหนีจากพวกมาเฟียครับ  การที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมได้นั้น "บัดดี้" ถือเป็นเรื่องสำคัญมากในการดำรงชีวิตของคนเรา ผมเชื่อว่าทุกคนต่างก็ต้องเร่งรีบเพื่อทำงาน หารายได้ สร้างอนาคต เรียนให้ได้เกรดดี ๆ เข้ามหาวิทยาลัยดัง ๆ ได้ทำงานดี ๆ เงินเดือนสูง ๆ แต่คนเรามักจะขาดเพื่อนที่ไปไหนด้วยกัน อันนี้เข้าใจนะครับว่าทุกคนพื้นที่ส่วนตัวมีหมด แต่ในความเป็นจริง อย่าน้อยก็ต้องมี "บัดดี้" แล้วทำไมถึงต้องมี "บัดดี้" ล่ะ 

            1. เป็นเพื่อนคู่คิดในเรื่องของการเรียน การทำงานได้เป็นอย่างดี การที่คนเรามีบัดดี้นั้น ทำให้การเรียนของเด็กแต่ละคนทำได้ดีขึ้น ถามมว่าเกี่ยวข้องกันตรงไหน อย่างที่ทราบเลยนะครับว่าคนเรามีความถนัดไม่เหมือนกัน วิชาที่ถนัดก็ไม่เหมือนกันอีก การที่มีบัดดี้นั้น เพื่อนคนหนึ่งก็จะติววิชาที่ถนัดได้ แต่เพื่อนอีกคนหนึ่งก็จะแนะนำการแก้โจทย์ปัญหาต่าง ๆ ได้ เพื่อนคนหนึ่งจะสอนการบ้านเลขได้ แต่เพื่อนอีกคนหนึ่งจะสอนการบ้านภาษาอังกฤษได้ แบบนี้เป็นต้น แล้วถ้าถามว่าการมี "บัดดี้" ส่งผลในเรื่องของการทำงานอย่างไร คำตอบคือ เราได้มีเพื่อนคู่คิด เพื่อนคู่ใจ ร่วมกันคิดว่าโครงการ/โปรเจคนี้ทำอย่างไร งานนี้สำเร็จได้อย่างไร จะแก้ปัญหาจุด ๆ นี้ได้อย่างไร เรื่องงานติดขัดตรงไหนหนือเปล่า เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้การทำงานนั้น ๆ ราบรื่นมากขึ้น อีกทั้งการประสานงานกับแผนกและหน่วยงานต่าง ๆ ทำได้ราบรื่นขึ้นมาอีกด้วย

            2. เป็นเพื่อนที่คอยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ บัดดี้นั้น จะเป็นเพื่อนที่คอยให้คำแนะนำ คำปรึกษา และเป็นพื้นที่รับฟังเมื่อเวลาที่ไม่สบายใจ การที่คนเรามีบัดดี้นั้น ทำให้คนเรามีพื้นที่ในการพูดคุยมากขึ้น เมื่อนคนเราเิดต้องการคำปรึกษา/คำแนะนำ หากแผนก/บุคคลอื่นเราไม่สามารถไปเล่าให้ใครได้ "บัดดี้" คอยจะช่วยตรงนี้ได้เป็นอย่างดี แล้วถ้าเกิดปัญหาที่เกินกว่าคู่บัดดี้จะรับได้ ก็ต้องส่งเรื่องราว/ปัญหาที่เกิดขึ้นไปยังคนที่ไว้ใจได้ เพื่อจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ต่อไป การที่จะมี "บัดดี้" ได้นั้น ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยไปทุกเรื่อง บัดดี้ไม่จำเป็นต้องเป็นคนช่วยแก้ปัญหาในทุกสถานการณ์ก็ได้ เพียงแต่ต้องมีการรับฟังที่ดีและมีการรับคำปรึกษาที่ดี เพื่อให้บัดดี้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขนั่นเอง

            3. ทำให้ได้รับการดูแลจากเพื่อน ๆ ได้มากขึ้น การมีบัดดี้นั้น ทำให้คนเราได้รับการดูแลที่ดีจากเพื่อนในสังคม ถามว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร การมีบัดดี้นั้น ทำให้เพื่อน ๆ ของบัดดี้เข้าใจบริบทของเพื่อนมากขึ้น มีดอกาสที่จะเรียนรู้เพื่อน ๆ ได้มากขึ้น อีกทั้งสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ และหาวิธีในการดูแลที่ดีขึ้นของบัดดี้ เมื่อเกิดปัญหาแล้วบัดดี้ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ เพื่อของบัดดี้ก็มีส่วนสำคัญที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจกันและกัน และอย่าใช้อารมณ์ ใช้เหตุผลแทนนะครับ นอกจากจะได้รับการดูแลที่ดีขึ้นแล้ว บุคคลที่เกี่ยวข้องก็ได้รับทราบถึงการเป็นเพื่อนของบัดดี้ และสามารถติดตามพัฒนาการและความเป็นอยู่ของคู่บัดดี้ได้ตามสื่ออนไลน์ และมาคุยส่วนตัว การมีบัดดี้ทำให้ชีวิตของคนเรารู้สึกมีความเข้มแข็ง และหลีกเลี่ยงภาวะแยกตัวเอง/ภาวะซึมเศร้าได้ด้วยนะครับ

            4. เพิ่มความรู้และทักษะใหม่ ๆ ให้ตนเอง การมีบัดดี้นั้นทำให้คนเราได้เพิ่มพูนในเรื่องของความรู้ ความสามารถมากขึ้น เพราะทุกคนถนัดไม่เหลือนกัน การมีบัดดี้ทำให้เกิดการเข้าถึงในเรื่องของความรู้ ความสามารถที่มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนคนหนึ่งเก่งเลข แต่เพื่อนอีกคนหนึ่งไม่เก่งเลข  เพื่อนคนหนึ่งเลยสอนเพื่อนว่าโจทย์นี้แก้ไขอย่างไร วิธีทำมีอะไรบ้าง ด้องทดเลขหรือตัดเลขหรือไม่ มีตัวแปรอะไรบ้าง เป็นต้น แต่เพื่อนอีกคนเก่งภาษา สอนเพื่อนที่ไม่เก่งภาษา เพื่อนอีกคนเลยสอนว่า ศัพท์นี้คืออะไร อ่านว่าอย่างไร เป็นประเภทคำอย่างไร ประโยคนี้คืออะไร การแต่งประโยคนี้แต่งอย่างไร คำไหนนาม คำไหนกริยากิริยา ประโยคมี ปรธธาน+กริยา+กรรม เป็นต้น นอกจากนี้ หากคู่บัดดี้มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ก็สามารถไปเรียนรู้เพิ่มเติม และทำชิ้นงานต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่นขึ้น มีโอกาสไปเจรจาต่อรองมากขึ้น และการที่มีบัดดี้สามารถระดมความคิดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ ง่ายขึ้น เพราะต่างมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่ไม่เหือนกัน แต่มีบางอย่างที่สามารถเชื่อมโยงกันได้จึงสำเร็จครับ

            5. เห็นข้อผิดพลาด และนำไปแก้ไขได้ดีขึ้น การมีบัดดี้นั้น เมื่อคนใดคนหนึ่งเกิดทำผิดพลาด หรือมีข้อผิดพลาดนั้น อีกคนหนึ่งก็จะทำหน้าที่ในการตักเตือน และอธิบายสิ่งต่าง ๆ ให้เข้าใจ การมีบัดดี้นั้น ทำให้การรับรู้ถึงความผิดพลาดและการแก้ปัญหาทำได้ดีขึ้น ถามว่าเพราะอะไร เพราะบัดดี้ เป็นเพื่อนที่อยู่ในวัยใกล้เคียงกัน หรือวัยเดียวกัน การที่จะคุยปรึกษาหารือทำได้ง่ายกว่าการที่จะไปคุยกับผู้ใหญ่ แต่ไม่ใช่ว่าไม่ปรึกษาผู้ใหญ่เลยนะครับ เพราะบางที บัดดี้มีปัญหา และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ควรที่จะปรึกษาผู้ใหญ่ เพื่อที่จะได้สบายใจ และสามารถแก้ปัญหาได้ในที่สุด บัดดี้นอกจากจะมองเห็นในเรื่องของปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังสามารถที่จะร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาเฉพราะหน้า หรือจะปรึกษาคนที่ไว้ใจได้ร่วมกันด้วก็ได้ การมีบัดดี้นั้น ทำให้คนเราได้เห็นว่าอะไรที่ผิดพลาด อะไรที่ควรปรับปรุงตัว เพื่อที่จะหาวิธีในการอยู่ร่วมกันให้ดีที่สุดครับ      

            6. ทำให้ความคิดต่าง ๆ ถูกระบายออกมามากขึ้น การมีบัดดี้นั้น ทำให้คนเรามีการแชร์สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และสามารถนำไปต่อยอดเป็นการแสดงออก หรือจะเป็นผลงานก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น คู่นี้ชอบเล่นกีต้าร์และร้องเพลงเช่นกัน ทั้งคู่เลยระบายความคิดของเรื่องดนตรี โน้ต เนื่อเพลง การออกเสียง การใช้ลูกคอ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องนัดกันฝึกซ้อมร้องเพลง เพื่อที่จะโชว์บนเวทีได้ครับ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อความเห็นของบัดดี้ไม่ตรงกัน ก็ควรที่จะหาจุดที่สามารถเชื่อมโยงกัน และนำสิ่งนั้น ๆ เป็นไอเดียของการทำงาน และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ได้อีกด้วย อาทิ เพื่อนคนหนึ่งบอกว่า "ต้องทำแบบนี้นะ" แต่เพื่อนอีกคนบอกว่า "ไม่เอา ๆ จะทำแบบนั้น" คู่นี้เลยต้องหาจุดที่จะมาเชื่อมโยง และประสานกันให้ได้ เพื่อจะนำสิ่งต่าง ๆ ไปปรับใช้ในการเรียน และการทำงานต่อไป

        จะเห็นว่า 6 ข้อนี้เป็นประโยชน์สำคัญในการที่จะมี "บัดดี้" แล้ว เห็นแบบนี้ใช่ไหมครับ ผมเชื่อได้เลยว่าทุกคน ทุกหน่วยงานต้องมีบัดดี้ เพื่อให้เราได้มีเพื่อน ไม่โดดเดี่ยว และทำให้สิ่งต่าง ๆ แก้ปัญหาไปด้วยกันได้ บัดดี้สามารถมีได้ทุกที่ ไม่ใช่แค่โรงเรียน มหาวิทยาลัย และสถานที่ทำงานเท่านั้น แต่ที่ไหน ๆ ก็มีบัดดี้ได้ ขอมีแค่ใจรัก ความเข้าใจ ความจริงใจ และพร้อมจะเรียนรู้ด้วยกันได้ ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คนครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ 


                                                                                                                                                          

อัษฎากรณ์ ขันตี

17 พฤศจิกายน 2531

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ถึงเวลารึยังที่จะมีวิชา การอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลาย อยู่ในหลักสูตรขั้นพื้นฐานของทุกระดับชั้นและการทำงาน

ครูจะช่วยเหลือบุคคลออทิสติกได้อย่างไร (ตอนที่ 3)

ทักษะทางสังคมสำหรับบุคคลออทิสติก