เรื่องเล่า และความในใจวันรับปริญญาของผม (ตอนที่ 3)



         จากตอนที่ 2 เมื่อคราวที่แล้ว ผมตั้งใจจะเขียนตอนที่ 3 ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ว่า่ผมมีภารกิจค่อนข้างเยอะ ผมเลยมาเล่าในวันนี้นะครับ ผมต้องขอโทษทุก ๆ คนมาในโอกาสนี้นะครับ ในตอนที่ 3 นี้ ผมจะระบายความรู้สึกทั้งหมดที่เกี่ยวกับการรับปริญญานะครับ การเล่าครั้งนี้ผมจะพยายามเล่าให้เต็มที่ และจัดเต็มทุกประเด็น ครับผม จริง ๆ ผมอยากจะมีโอกาสเจอและพูดคุยกับหลาย ๆ ครน แต่ทว่า ทุกคนต่างมีหน้าที่ ต่างมีภารกิจ ที่อาจจะว่างไม่ตรงกัน ผมก็เลยถือโอกาสที่จะเล่าสู่กันฟัง ในตอนนี้จะเล่าถึงความรู้สึกที่ค้างอยู่ในใจ งั้นมาเริ่มอ่านกันเลยนะครับ

            ถ้าถามว่าผมมีความรู้สึกอย่างไรที่ผมมาอยู่ตรงนี้ ผมบอกแบบไม่อวยนะครับ..


" ทึ่งอย่างรุนแรง "


        ถามว่าทำไมผมถึงคิดเช่นนั้น ผมไม่ได้คิดแบบอวยตนเองและเข้าข้างตนเองนะครับ การที่ผมจะมาถึงตรงนี้ได้นั้น ไมได้ง่าย ๆ เลยนะครับ การที่ผมนั่งหลับ,ทำอะไรไม่เป็น,เรียนไม่รู้เรื่อง ผมผ่านมาหมดแล้วครับ และยิ่งกว่านั้น ผมเคยขึ้นต่อหน้าเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ อีกทั้งหลายครั้งก็จะมีคนถามว่า "โปรเจคเสร็จยัง " ถามจนผมแทบจะอายแทรกแผ่นดิน แต่สุดท้าย ก็เรียนจบมาได้ครับ ชีวิตของทุกคนมันไม่มีอะไรที่ได้มา โดยที่ไม่ผ่านการต่อสู้ครับ 

        ในสมัยเรียน ผมจะทำอะไร ผมจะไม่ทันเพื่อน ๆ ตลอด แต่เพราะอาจารย์เรียกสติ ทำให้ผมมุ่งมั่นที่จะเรียนจบ และเรียนจบได้ในที่สุด ในชีวิตรั้วมหาวิทยาลัยของผมนั้น ต่างจากมัธยมโดยสิ้นเชิง ที่ไม่ต้องเข้าแถวเคารพธงชาติแล้ว ไม่มีครูมารอที่หน้าประตู ไม่ต้องฟังครูพูดเวลาเช้า ๆ ไม่มีใครมาตามว่า "ทำไมไม่เข้าเรียน"  แต่ว่าอาจารย์ดูแลผมดี ผมถึงทำอะไรต่าง ๆ ได้มากขึ้น แม้ต้องใช้เวลาก็ตาม 

        เดิมผมเรียนที่อาคาร 3 มาตั้งแต่แรก ตอนนั้นเวลาว่าง ๆ ผมจะนั่งห้องแอร์ที่มีกระจกใสรอบด้านที่ชั้น 1 ของอาคาร 3 ที่เด็ก ๆ เรียกกันว่า "ตู้ปลา" ต่อมาผมย้ายมาอยู่ที่อาคาร 26 ถ้าถามว่าผมชอบไปนั้งตรงไหน คำตอบคือ ห้อง Start Up ครับ ผมก็อยู่ในห้องนี้จนเกิดการระบาดของโควิด-19 และผมก็ไม่ได้เข้าห้องนี้อีกเลยจนจบการศึกษา

        ในชีวิตการศึกษา คือการทำโปรเจคจบนั่นเอง ของผมได้ทำเรื่องของนักศึกษาพิการ ตอนแรกผมทำไม่เป็นเลย ถึงขนาดที่รุ่นพี่ทำให้มาแล้ว แต่เพราะความพยายาม ตั้งใจ ผมค่อย ๆ ทำเป็น ทั้ง coding,ทำ database,เขียนหนังสือมใช้ฟอนต์มกั้นหน้ากั้นหลัง ในที่สุดผมก็ทำดปรเจคจบเมื่อเดือน กันยายน 2563 ก่อนจะย้ายมาทำงานที่มูลนิธิออทิสติกไทยเพียงไม่กี่เดือนให้หลัง  


" ความในใจจากผม "


        เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2565 ผมก็ได้รับปริญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ เป็นความกึกก้องในใจที่ผมทึ่งอย่างรุนแรง ทึ่งกับตัวเอง ว่ามาได้อย่างไร แต่ก็ไม่ใช่ง่าย ๆ เลยที่จะมาถึงตรงนี้ สุดท้ายก็ผ่านมาได้ ถึงแม้ว่าจะได้รับใบปริญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องเริ่มต้นการทำงานนับหนึ่งใหม่หด ต้องเรียชรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน ต้องเรียนรู้ทักษะชีวิต ทักษะสังคม ทักษะการเอาตัวรอด ใบปริญญาไม่ใช่พรมวิเศษที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ แต่ความสำเร็จต้องเกิดจากความพยายาม และความตั้งใจเท่านั้น ในฉากจบของเรื่อง La  La Land ก็เป็นการบ่งบอกว่าเราต้องอยู่กับความจริง และอยู่กับบัจจุบันมากขึ้น การดำเนินชีวิตผมก็เช่นกัน ผมย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพมาสองปีแล้ว ผมก็ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ต้องเรียนรู้ผู้คน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ การเดินทาง และสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่มีให้ห้องเรียนั่นเอง


" พี่ต้องเข้มแข็งให้มากกว่านี้นะ "


        เพื่อนของผมคนหนึ่งได้กล่าวไว้เมื่อสองปีก่อน และเป็นประโยคที่ผมจำได้ดีประโยคหนึ่ง เป็นสิ่งเตือนใจที่ผมยังนึกถึงเสมอ และเป็นประโยคที่ยังใช้ได้เสมอมา ต้องขอบคุณเพื่อนคนหนึ่งที่ได้พูดนะครับ การได้ใบปริญญา เป็นความภาคภูมิใจแก่คนในครอบครัว และเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตที่เรามาถึงตรงนี้ครับผม การที่บุคคลออทิสติกมาอยู่ตรงนี้ไม่ง่ายเลยนะครับ ผมต้องเผชิญทั้งสิ่งแวดล้อม และสังคมที่ไม่เอื้ออำนวยสำหรับผมสักเท่าไร ในซีรี่ส์เรื่องอูยองอู ทนายอัจฉริยะ ผมนึกถึงทยายอูยองอู ที่มีภาวะออทิสติก แต่สามารถเป็นทนาย แล้วชนะคดีมาแล้วหลายครั้ง อีกทั้งมักจะสนใจเรื่องปลาวาฬ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเธอ  มักจะทำอะไรซ้ำ ๆ อาทิ กินแต่คิมบับ พูดเรื่องวาฬ พูดเรื่องเดิม ๆ มีความผิดปกติในการพูด การเข้าสังคม การดำรงชีวิต แต่อูยองอูน่ารัก สดใส ไม่คิดร้ายหรือนินทาใครครับ ผมก็เหมือนกับทนายอูยองอู ที่มีความสามารถเฉพาะด้าน ทำอะไรซ้ำ ๆ มีปัญหาทางการเข้าสังคม การพูด นั่นเองครับ

        การให้โอกาส คือสิ่งสำคัญที่ทำให้ผมฝ่าฟันมาได้ ทำให้ผมได้มายืนอยู่ตรงนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่จำสำเร็จหากไม่มีโอกาสที่เอื้อำนวย ผมได้รับโอกาสทั้งอาจารย์ ครอบครัว และคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญที่สุดคือครอบครัว ขอบคุณครอบครัวที่ดูแล เอาใจใส่ และสนับสนุนผมมาตลอด


                                   " ก้าวเล็ก ๆ กับใบปริญญา"


            นี่คือความรู้สึกว่า มันคือก้าวเล็ก ๆ ก้าวหนึ่งเท่านั้น เพราะในความจริงคนเรายังต้องเรียนรู้และเผชิญอะไรต่าง ๆ อีกมากมาย การจะได้รับใบปริญญาแล้วมีชีวิตที่สวยหรูเสียทีเดียวน่ะมันเป็นไปไม่ได้ เราก็ต้องเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ทั้งทักษะชีวิต ทักษะสังคม ทักษะอาชีพ ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น มิใช่แค่นั้น เรายังต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด เพื่อให้ทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นและเป็นประสบการณ์ ยกตัวอย่างคือโครงการอพอลโล่ ทั้งที่ล้มเหลวจากเหตุการณ์อพอลโล่ 1 ทำให้นักบินทั้ง 3 คน เสียชีวิตทั้งหมด แต่ทำไม่ถึงประสบความสำเร็จในเหตุการณ์อพลอลโล่ 11 ได้ล่ะครับ 1.มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องได้ไปดวงจันทร์ก่อนปี ค.ศ.1970 2.เรียนรู้จากความผิดพลาดและข้อบกพร่องจากเหตุการณ์อพอลโล่ 1 สุดท้านในเหตุการณ์อพอลโล่ 11 นักบินทั้ง 3 คน คือนีล อาร์มสตรอง บัตซ์ อัลดรีน และไมเคิล คอลลินส์ ก็เหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จ  เห็นไหมครับ ว่าความผิดพลาด หากได้เรียนรู้ ก็นำไปสู่ความสำเร็จครับผม ผมก็เช่นกันครับ ผมก็ลองถูกลองผิดมามากมาย สุดท้าย ผมก็ฝ่าฟัน จนมีวันนี้ในที่สุดครับ


 " จากวันนั้นถึงวันนี้"


                หนวดดำในวันพีซ ได้กล่าวว่า "ความฝันน่ะ ไม่มีวันตายหรอกนะ" ผมได้เรียนรู้มากมาย ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ต่อจากนั้น ผมต้องทำงาน เก็บเงิน ใช้ชีวิตตามความฝัน และสิ่งที่เราเป็ร ผมต้องการชีวิตที่สมดุลทั้งการงาน การเงิน สุขภาพ การใช้ชีวิต ผมอยากออกไปเจอเพื่อน  ๆ ไปร่วมวงคุยกันบ้าง ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันกับผมบ้าง ขอแค่จริงใจ ไม่อคติ ผมอาจจะทำอะไรไม่ถูกบ้าง ทำอะไรผิดพลาดบ้าง ก็ขอให้พูดด้วยเหตุด้วยผล ผมดีใจที่ผมได้รับใบปริญญาครั้งนี้ สิ่งที่ผมจะทำคือการพัฒนาระบบ(ด้านคนพิการและออทิสติก) เขียนหนังสือ เขียนบทความ และเป็นกระบอกเสียงด้านออทิสติก สิ่งไหนที่ดีก็ต่อยอด สิ่งไหนที่ไม่ดีค่อย ๆ ปรับปรุงต่อไป ทุกคนครับ หากมีอะไรก็มาคุยได้เสมอ หากสิ่งไหนที่ให้ผมมีส่วนร่วมได้ ผมก็ยินดี ถ้าอยากรบกวนก็ตามสบายนะครับ มีอะไรคุยกับผมได้ตลอดนะครับ (เรื่องเงิน-ค้ำประกัน ไม่เอานะ) ผมก็ขอบคุณทุก ๆ คนที่ตามอ่านนะครับ ตอนหน้าจะเป็นกิตติกรรมประกาศ และกล่าวขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้องทุก ๆ คน พบกันใหม่วันเสาร์ที่ 12 หรืออาจจะเร็วกว่านั้นนะครับ สำหรับวันนี้ สวัวดีครับ




อัษฎากรณ์ ขันตี

6 พฤศจิกายน 2565 



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ถึงเวลารึยังที่จะมีวิชา การอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลาย อยู่ในหลักสูตรขั้นพื้นฐานของทุกระดับชั้นและการทำงาน

ครูจะช่วยเหลือบุคคลออทิสติกได้อย่างไร (ตอนที่ 3)

ทักษะทางสังคมสำหรับบุคคลออทิสติก