กรณีศึกษาจากภาพยนตร์เรื่อง Silver Linings Playbook (2012)

 

กรณีศึกษาจากภาพยนตร์เรื่อง Silver Linings Playbook (2012)

อัษฎากรณ์ ขันตี มูลนิธิออทิสติกไทย

 

 

คนทุกคนในสังคมนี้ล้วนมีความถนัด อุปนิสัย ที่มา การฝึกฝน วัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป ทุกคนต้องการที่จะมีเงิน มีสุขภาพที่ดี มีการงานที่ดี มีความมั่นคง มีเพื่อนที่ดี และที่ต้องการมากที่สุด คืออิสรภาพ ทุกคนต่างมีภาระหน้าที่ที่แตกต่างกัน มีความถนัด ความคิด และได้รับการฝึกฝนที่แตกต่างกันไป ตามความถนัดของทุกคน ทุกคนเกิดมาเพื่อที่จะเรียนรู้ สร้างสรรค์ และใช้ชีวิตตามที่ตนเองต้องการ

แต่ทุกคนต่างมีปัญหาที่แตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งในวันนี้ผมจะมาเล่าถึงหนังเรื่อง Silver Linings Playbook นะครับ (ชื่อภาษาไทยคือ ลุกขึ้นใหม่ หัวใจมีเธอ) หนังเรื่องนี้นะครับจะเล่าถึงแพท (แสดงโดย แบรดลีย์ คูเปอร์) มีปัญหาคือติดคุกเนื่องจากทำร้ายร่างกาย และติดยาเสพติด จนต้องเข้ารับการบำบัดที่โรงพยาบาล เขาชื่นชอบในกีฬา จนสามารถคุยกับพ่อได้ และวิชาประวัติศาสตร์ แพทมีปัญหาอีกอย่างคือชอบใช้ความรุนแรง ถูกแฟนทิ้ง ชอบย้ำคิดย้ำทำ แพทพยายามที่จะปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น ด้วยการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ และวิ่งออกกำลังกาย ต่อมาได้ไปบ้านเพื่อน และได้พบเจอนางเอกชื่อทิฟฟานี่ (รับบทโดยเจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์) ซึ่งเป็นม่าย เป็นโรคซึมเศร้า และถูกไล่ออกจากงาน เธอชอบการเต้นรำ และลีลาศ ซึ่งตอนแรก ๆ จะไม่ลงรอยกันเท่าไรนัก แต่ต่อมา แพทได้วิ่งด้วยกันกับทิฟฟานี่ ทำให้เกิดความคุ้นเคย และมีความสนิทสนมกันมากขึ้น ทิฟฟานี่ได้ชวนแพทเต้นรำ แต่ตอนแรกแพทไม่เห็นด้วย แต่ด้วยการเปิดใจ ทำให้แพทยอมที่จะฝึกการเต้นรำอย่างดีที่สุด

แพทเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ และฝังใจกับแฟนเก่าของเขา ทำให้เกิดปัญหากับทิฟฟานี่อยู่บ่อยครั้ง ตั้งแต่เรื่องการฝากจดหมาย ไปจนถึงเกิดเรื่องกันในร้านอาหาร ส่วนทิฟฟานี่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ทำให้ต้องอยู่ลำพัง และขาดคู่ในการเต้นลีลาศ พ่อของแพทมีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านอาหาร และพนันทีมฟุตบอล ซึ่งเรื่องนี้บ่งบอกได้ว่า คนเรามีปัญหากันทุกคน เพียงแต่ต่างรูปแบบกัน แต่มีจุด ๆ หนึ่ง ซึ่งสามารถเชื่อมความสัมพันธ์ และทำให้เกิดเป็นความรัก ในเรื่องนี้ผมจะนำมาเล่าโดยสังเขปนะครับ

ฉากที่พระเอกวิ่งออกกำลังกายยามเช้า ทำให้เกิดความสนิทสนมกับนางเอก ที่พยายามจะเป็นเพื่อนด้วย และลบความหม่นหมองในชีวิต การที่ได้เจอจุด ๆ หนึ่งที่ลงตัวกัน ทำให้คนเราลบอคติ เกิดความรัก มีความสุขที่ได้คุยกัน และลืมเรื่องที่แย่ ๆ ออกไป เรื่องนี้เป้นการบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า ต่างคนต่างมีปัญหา แต่สุดท้ายก็ได้มาเจอในจุด ๆ หนึ่งที่มีความรัก ความเข้าใจ และลงตัว อีกอย่างที่เรื่องนี้บ่งบอกคือ ทุกคนต่างก็มีความผิดพลาดกันได้ทั้งนั้น พระเอกพยายามที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น ตั้งแต่ควบคุมอารมณ์ ชมบอลกับพ่อ ฝึกตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยา อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ วิ่งออกกำลังกาย ไปจนถึงร่วมเต้นรำกับนางเอก

เรื่องนี้เป็นการบ่งบอกและเล่าถึงความผิดพลาด และเรื่องร้าย ๆ แต่เพราะ “สังคม” และ “สิ่งที่ลงตัว” ทำให้อุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตค่อย ๆ หายไป อคติต่าง ๆ ค่อย ๆ หายไป การที่จะมีเพื่อน มีมิตร มีแฟน สิ่งที่ต้องมีคือ “จุดที่ลงตัว”

“จุดที่ลงตัว” ไม่จำเป็นต้องชอบเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยทุกอย่าง ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลา แต่สิ่งที่เป็น “จุดที่ลงตัว” คือ ”ใจรัก” ของทั้งสองฝ่าย เข้าใจซึ่งกันและกัน พร้อมที่จะดูแลและเคียงข้างกัน หาเวลาทำกิจกรรมด้วยกัน ไม่จำเป็นต้องตลอดเวลา แต่ต้องต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ในสังคมอาจะมีคนที่มีความลงตัว และถ้าเจอแล้ว ควรรักษาให้ดี ๆ

“ความผิด” เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอ ทุกคนที่ลืมตาอยู่บนโลกนี้ต่างก็มีความผิดพลาดกันทั้งนั้น “ความผิด” ทำให้ทุกคนรู้จะกแก้ปัญหา รู้จักการปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น รู้จักการขอโทษ ให้โอกาส ให้อภัย การที่คนเราเจอ “ความผิด” มากกว่าคนอื่น คือคนที่เข้มแข็งกว่าคนอื่น แก้ปัญหาได้ดีกว่าคนอื่น สำเร็จมากกว่าคนอื่น คนเราทุกคนต้องรู้จักการให้โอกาสในการกลับตัวกลับใจ และเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิม

 

“จุดที่ลงตัว” “ความผิด” และ “โอกาส” คือพลังสำคัญ

ในการเป็นคนที่ดีในสังคมได้อย่างแน่นอนครับ

 

เรื่องนี้นะครับ เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ ชนะรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา หนังฉายเมื่อปี 2555 ครับผม เรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังที่ผมอยากให้ดูเป็นอย่างยิ่งครับ อย่าลืมไปหาชมกันนะครับ

 

                                                               

                                                                          อัษฎากรณ์ ขันตี

29 มกราคม 2564

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ถึงเวลารึยังที่จะมีวิชา การอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลาย อยู่ในหลักสูตรขั้นพื้นฐานของทุกระดับชั้นและการทำงาน

รีวิวการใช้งาน เว็บไซต์คัดกรองบุคคลออทิสติก

ค่ายเยาวชน ปี 2567