จะทำอย่างไร..หากลูกออทิสติกของคุณ หรือเพื่อนที่เป็นออทิสติก เป็นตัวตลกในสายตาผู้อื่น

จะทำอย่างไร..หากลูกออทิสติกของคุณ 
หรือเพื่อนที่เป็นออทิสติก เป็นตัวตลกในสายตาผู้อื่น
อัษฎากรณ์ ขันตี
aussadakornkhantee@gmail.com

  
  คนออทิสติก..ก็เหมือนกับทุกๆ คนนะครับ..ที่มีความรัก หัวใจ ความคิด และความรู้สึกเช่นเดียวกันกับคนทั่วไปครับ เพียงแต่เค้ามีความต้องการเป็นพิเศษ เช่นการดูแลเอาใจใส่ การเข้ากับสังคมเพื่อให้สังคมเข้าใจ การเรียนรู้ ความรัก การให้เวลาและการปรับตัวที่ต้องใช้เวลามากกว่าคนทั่วไป 
   ทว่า..คนพวกนี้มักจะถูกมองว่าเป็นตัวตลกในสายตาผู้อื่น เช่น กล่าวหาว่าติ๊งต๊อง เป็นเหมือนคนไม่สมประกอบ เป็นคนปัญญาอ่อนครับ จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้เกิดปัญหาทางการเรียนรู้ การเข้าสังคม การใช้ชีวิตประจำวัน และการมองโลกของคนออทิสติกด้วย 
   แล้วจะทำอย่างไร..เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องนี้ ผมมีวิธีแนะนำครับ

   1.สำหรับผู้ปกครอง
   -ควรทำความเข้าใจในตัวลูก ว่าต้องการอะไร อยากได้หรืออยากเป็นอะไร 
   -ควรทำความเข้าใจกับอาจารย์ในสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งมอบหมายให้อาจารย์และเพื่อนๆดูแลอย่างใกล้ชิด
   -ควรให้เวลาเยอะๆ ในการทำความเข้าใจ การเรียนรู้ และการอยู่ร่วมกัน 
   -ทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ และนักเรียน พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข และปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และไม่ฉุกละหุกเกินไป
   -ทำกิจกรรมด้วยกันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

   2.สำหรับเพื่อน 
   -ควรทำความเข้าใจในตัวเพื่อน ว่าต้องการอะไร อยากได้หรืออยากเป็นอะไร 
   -ให้เวลาในการทำกิจกรรม ทำงานกลุ่ม เรียนรู้และอยู่ด้วยกันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 
   -ทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ และผู้ปกครอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข และปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และไม่ฉุกละหุกเกินไป
   -เมื่อมีปัญหา ไม่ควรใช้อารมณ์ แต่ควรเข้าใจกัน และอธิบายให้ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นและร่วมมือกับอาจารย์หาวิธีแก้ไข
    3.สำหรับอาจารย์
   -ควรทำความเข้าใจในตัวลูกศิษย์ ว่าต้องการอะไร อยากได้หรืออยากเป็นอะไร 
   -อาจารย์ควรทำความเข้าใจให้ตัวเด็ก และมอบหมายและให้เพื่อนของเขาให้ช่วยๆกันดูแลเป็นพิเศษ และให้เวลาเค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 
   -ให้เวลาในการทำกิจกรรม เรียนรู้และอยู่ด้วยกันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 
   -ทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นกับเพื่อน และผู้ปกครอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข และปรัตัวได้อย่างเหมาะสม และไม่ฉุกละหุกเกินไป
   -เมื่อมีปัญหา ไม่ควรใช้อารมณ์ แต่ควรเข้าใจกัน และอธิบายให้ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นและร่วมมือกับอาจารย์หาวิธีแก้ไข
   -ควรใช้เวลาในการสอนเขาให้มากกว่าปกติ และเรียกมาคุยกันหากเกิดปัญหาทางด้านการเรียน และสอนเสริมหากเด็กมีความสนใจ และให้เวลาดูแลให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 
   -ทำความเข้าใจว่าตัวเด็กนั้น ขาดตกบกพร่องด้านไหน ควรทำความเข้าใจ และค่อยๆหาวิธีแก้ไข และร่วมมือกับผู้ปกครอง 

  เพียงแค่นี้ลูกออทิสติกของเราไม่ใช่ตัวตลกในสายตาคนอื่นแล้วครับผม..เพียงเท่านี้พวกเขาคือส่วนหนึ่งของสังคมได้แล้ว ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกัน แน่นอน..ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอนครับ สู้ๆครับทุกคน  





อัษฎากรณ์ ขันตี
17 มิถุนายน 2562

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ถึงเวลารึยังที่จะมีวิชา การอยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลาย อยู่ในหลักสูตรขั้นพื้นฐานของทุกระดับชั้นและการทำงาน

ครูจะช่วยเหลือบุคคลออทิสติกได้อย่างไร (ตอนที่ 3)

ทักษะทางสังคมสำหรับบุคคลออทิสติก